อุปกรณ์ระบบทำความเย็น ส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้จักแค่ส่วนที่ปล่อยลมเย็นออกมา หรือที่เรียกว่า คอยล์เย็น (Evaporator) กับส่วนที่ปล่อยลมร้อน หรือคอยล์ร้อน (Condenser) แต่จริง ๆ แล้ว อุปกรณ์ระบบทำความเย็นยังมีอีกหลายอย่างที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของการทำความเย็นให้เราได้ศึกษา เพื่อเข้าใจการทำงานของระบบทำความเย็นได้มากขึ้น

อุปกรณ์ระบบทำความเย็น

หลักการทำงานของระบบทำความเย็น

             ระบบทำความเย็นจะใช้หลักการถ่ายเทอุณหภูมิความร้อนเพื่อให้เกิดความเย็น ไม่ใช่การสร้างความเย็นด้วยไฟฟ้าโดยตรง โดยส่วนคอยล์เย็นที่มักจะอยู่ในพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็นจะเป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนจากในพื้นที่นั้นด้วยสารทำความเย็น หรือที่ช่างแอร์มักจะเรียกกันติดปากว่า น้ำยาแอร์ ซึ่งสารทำความเย็นจะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเปลี่ยนสถานะได้ดี และทนต่อความร้อน ด้วยหลักการทำงานที่ใช้การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแบบนี้ จึงมีอุปกรณ์ระบบทำความเย็นจำนวนมากที่ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญในการสร้างความเย็น แต่อุปกรณ์หลัก ๆ โดยพื้นฐานจะมีอยู่ 5 ชนิดด้วยกัน

อุปกรณ์ระบบทำความเย็นพื้นฐาน มีอะไรบ้าง?

1. สารทำความเย็น (Refrigerant)

             เป็นหัวใจหลักของระบบทำความเย็น สารทำความเย็นจะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเปลี่ยนสถานะระหว่างของเหลวกับไอได้ง่าย และทนต่อความร้อน จึงถูกนำมาใช้ในอุปกรณ์ระบบทำความเย็นที่ใช้การเปลี่ยนสถานะในการถ่ายเทอุณหภูมิความร้อนภายในพื้นที่ ซึ่งในปัจจุบัน สารทำความเย็นในท้องตลาดก็มีให้เลือกใช้หลากหลาย ตามคุณภาพและราคา

2. คอยล์เย็น หรืออีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)

 

คอยล์เย็น

             เป็นอุปกรณ์ระบบทำความเย็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หรือที่ทุกคนเรียกติดปากกันว่า แอร์ นั่นเอง โดยคอยล์เย็นจะถูกติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น ทำการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิความร้อนในห้องกับอุณหภูมิความเย็นในระบบ โดยใช้สารทำความเย็นเป็นตัวกลาง ภายในคอยล์เย็นจะมีพัดลมใบพัดติดตั้งอยู่ ซึ่งพัดลมใบพัดนี้จะช่วยเป่าความเย็นที่ได้จากสารทำความเย็นออกมา และดูดอากาศร้อนภายในห้องออกไปเป็นวัฏจักรหมุนเวียน

3. คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

             จะอยู่ในตำแหน่งใกล้กันกับกับคอยล์ร้อน มีหน้าที่อัดไอหรือแก๊สให้มีความดันที่สูงขึ้น สารทำความเย็นที่ผ่านคอยล์เย็นนั้น จะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น และเปลี่ยนสถานะเป็นไอหรือแก๊สความดันต่ำ เนื่องด้วยสารทำความเย็นที่เป็นไอหรือแก๊ส จะมีคุณสมบัติในการดูดซับอุณหภูมิที่ร้อนของอากาศที่ไหลผ่านได้ดี และไหลต่อไปยังคอมเพรสเซอร์เพื่ออัดไอหรือแก๊สที่ได้ให้มีความดันที่สูงขึ้น และส่งต่อไปยังคอยล์ร้อนต่อไป

GRASSO - Compressor rc 11 parts

4. คอยล์ร้อน หรือคอนเดนเซอร์ (Condenser)

 

คอยล์ร้อน

             คอยล์ร้อน หรือที่ทุกคนรู้จักว่าเป็นพัดลมร้อนที่ตั้งอยู่ด้านนอกอาคาร มีหน้าที่ระบายความร้อนภายในสารทำความเย็น เมื่อสารทำความเย็นผ่านคอมเพรสเซอร์และมีสถานะเป็นไอความดันสูง จะถูกส่งต่อมายังคอยล์ร้อนหรือคอนเดนเซอร์ เพื่อทำให้ไอควบแน่นและกลับมามีสถานะเป็นของเหลว เข้าสู่ระบบต่อไป

5. วาล์วลดแรงดัน (Expansion Valve)

วาล์วลดแรงดัน

             เป็นอุปกรณ์ระบบทำความเย็นที่ช่วยลดความดันของสารทำความเย็นในสถานะของเหลวที่ได้มาจากคอยล์ร้อน เมื่อความดันลดลง อุณหภูมิก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เกิดความเย็น และส่งต่อไปยังคอยล์เย็นเพื่อถ่ายเทความเย็นเข้าสู่พื้นที่ต่อไป

             จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์ระบบทำความเย็นแต่ละชนิดต่างก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน และระบบทำความเย็นที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบ จะต้องมีอุปกรณ์ระบบทำความเย็นที่ได้มาตรฐาน และใช้งานได้ถูกประเภท บริษัท ชาญเทค (ประเทศไทย) จำกัด มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญด้านงานเครื่องทำความเย็นมายาวนานกว่า 20 ปี ให้บริการออกแบบติดตั้งห้องเย็น ระบบห้องเย็น รับซ่อมบำรุงอุปกรณ์ระบบทำความเย็น เครื่องทำน้ำแข็ง รวมถึงเครื่องปรับอากาศ บริการลูกค้าทั่วประเทศแบบครบวงจร พร้อมติดตั้งและดูแลการใช้งานหลังการขาย

---------------------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระบบทําความเย็นนำมาใช้งานด้านใดบ้าง

เคล็ดลับในการบำรุงรักษาระบบทำความเย็น

เพราะเหตุใด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ห้องเย็นพักสินค้า